การตรวจสุขภาพเคลื่อนที่จะมีประโยชน์อย่างมากหากทำอย่างถูกต้องตามหลักการเพราะโรคบางโรคนั้น หากตรวจพบระยะแรกก็จะรักษาได้ผลดีหรือหายขาดได้ แต่ถ้ามุ่งเน้นการตรวจหาโรคโดยไม่จำเป็นจะมีโทษมากกว่าประโยชน์เพราะถ้าตรวจพบว่าเป็นโรคที่ยังไม่มีการพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่ารักษาได้ หรือรักษาระยะแรกไม่ได้ผลดี จะทำให้ผู้รับการตรวจย่อมเกิดความวิตกกังวลได้ นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่เครื่องมือที่ใช้ตรวจก็ไม่ได้ให้ผลแม่นยำร้อยเปอร์เซ็นต์อีกด้วย ซึ่งผลการตรวจที่ออกมานั้น หากตรวจแล้วพบผลลบลวงก็จะทำให้ผู้ถูกตรวจชะล่าใจและไม่ปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ยิ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอีก หรือกรณีที่ตรวจแล้วได้ผลบวกลวงก็ต้องเจ็บตัว เพราะต้องตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผล ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก อีกทั้ง การตรวจเพิ่มเติมบางอย่างเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วย
การตรวจสุขภาพที่ถูกต้องนั้นควรมุ่งให้ผู้ถูกตรวจดูแลสุขภาพตนเอง ไม่ใช่การไปพึ่งพาแพทย์ หรือโรงพยาบาล ดังนั้น หลังจากการตรวจสุขภาพแล้ว แพทย์ต้องให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม ดังเช่นคำว่า การส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งหมายความว่า หลังจากทราบผลการตรวจสุขภาพเคลื่อนที่แล้วไม่ป่วย แข็งแรงดี ก็ควรแนะถึงวิธีที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงยิ่งขึ้น หรือผลตรวจสุขภาพของคนที่มีปัจจัยเสี่ยง ก็ควรจะแนะวิธีการที่จะทำให้พวกเขาหันกลับมาดูแลตัวเอง เช่น เดิมไม่ออกกำลังกาย อาจแนะให้เปลี่ยนพฤติกรรมหันมาออกกำลังกายกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เลิกดื่มสุรา เลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น รวมถึงบางคนที่ผลการตรวจสุขภาพพบว่าเป็นโรคเบาหวาน การปฏิบัติตัวเพื่อส่งเสริมสุขภาพเหล่านี้ก็จะสามารถคุมน้ำตาลได้ ทำให้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือพิการ
ทุกคนสามารถตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ด้วยตนเองง่าย ๆ เช่น การตรวจว่าตัวเองยังมีพฤติกรรมสุขภาพอะไรที่ไม่เหมาะสม การตรวจวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนักดูว่าเกินปกติหรืออ้วนไหม ด้วยการวัดเส้นรอบเอว มีวิธีการวัดเส้นรอบเอวตัวเองอย่างง่าย ๆ คือ เริ่มวัดจากแนวสะดือแล้วนำค่าที่ได้หารส่วนสูง คนปกติจะมีค่าเส้นรอบเอวไม่ เกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูง โดยมาตรฐานแล้ว คนเราควรจะมีค่าเส้นรอบเอวไม่เกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูง เช่น คนที่สูง 160 เซนติเมตร เส้นรอบเอวไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร ถ้าเกินกว่านี้แสดงว่าลงพุง มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดสมองตีบตัน